วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบ้านโยฮันส์



โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก


                          โยฮันน์ กูเทนแบร์ก (อังกฤษ: Johannes Gensfleisch zur Laden zum Gutenberg (ค.ศ. 1398 – 3 ก.พ. ค.ศ. 1468) ช่างเหล็กและนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันมีชื่อเสียงจากการมีส่วนพัฒนาเทคโนโลยี การพิมพ์ ในช่วงราวคริสต์ศตวรรษ 1450 ซึ่งรวมถึงตัวพิมพ์โลหะอัลลอย และหมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมันเป็นฐาน แม่พิมพ์สำหรับหล่อตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ และแท่นพิมพ์แบบกดแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาจากเครื่องกดที่ใช้ในการทำไวน์กูเตนเบิร์กชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้นเมื่อรวมส่วน ประกอบต่างๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้วเขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็น ไปได้ และทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของ ยุโรป จึงทำให้เราทุกวันนี้ สามารถรับและสืบทอดตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ได้อย่างเอนกอนันต์ เพราะหากไม่มีเทคโนโลยีด้านการพิมพ์นี้แล้วและให้เราคัดลอกความรู้ต่างๆ กันด้วยมือมนุษย์เองนั้นก็ยากที่จะทำให้ความรู้วิทยาการแขนงต่างๆ แพร่หลายอย่างกว้างไกลเฉกเช่นปัจจุบันนี้ โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ว่านั้นต้องยกเครดิตให้กับนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันผู้ หนึ่ง นั่นคือ โยฮันส์ กูเตนเบิร์กถึงแม้ว่าก่อนหน้านั้นราว 400 ปี จีนแผ่นดินใหญ่สามารถประดิษฐ์การพิมพ์ได้แล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะมุ่งรับใช้ราชสำนักเป็นสำคัญไม่เหมือน กับกูเตนเบิร์ก ที่ทำให้การพิมพ์หนังสือแพร่หลายไปทั่วทุกหัวระแหง โดยนักประดิษฐ์ แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่ผู้นี้ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 1941 ที่เมืองเมนซ์ ดินแดนเยอรมนี ได้ประดิษฐ์คิดค้นแท่นพิมพ์ดังกล่าวขึ้นมา เริ่มจากปี พ.ศ. 1982 ก่อน ที่จะพัฒนามาโดยลำดับ และได้พิมพ์เอกสารต่างๆ มากมายจนถือว่าได้เป็นงานหลักใน ชีวิตของเขาแต่ที่นับว่ายิ่งใหญ่ เพราะรู้จักแพร่หลายกันอย่างที่สุด ก็คือ การพิมพ์ คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กูเตนเบิร์ก ไบเบิลที่พิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 1998 หรือวันนี้เมื่อ 554 ปีที่แล้ว...
 ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน
                            เมื่อ เกิดการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบเรียงตัวอักษร ทำให้เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงต่อด้านสังคม ดังนี้ การลดบทบาทความสำคัญของบาทหลวง และคริสต์จักร แต่เดิมพระหรือบาทหลวงเป็นผู้ผูกขาดการรู้หนังสือ ดังนั้น เมื่อมีสิ่งประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กทำให้งานเขียนประเภทต่าง ๆ แพร่หลายอย่างรวดเร็วผู้คนฉลาดมากขึ้นไม่ยอมให้ถูกครอบงำหรือชี้นำทางความ คิดจากบาทหลวงหรือคริสตจักรเหมือนดังแต่ก่อน

1 ความคิดเห็น:

  1. 1. บทความชิ้นแรกเรื่อง ชีวิตน้องใหม่ไปไหนคะ ทำไมเขียนบทความไม่ครบ
    2. บทความชิ้นนี้ควรมีการปรับแต่งย่อหน้า ไม่ใช่ไปคัดลอกเนื้อหามาวาง โดยไม่เรียบเรียงให้เหมาะสม
    3. ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบ ครูสั่งว่าให้วิเคราะห์ในมุมมองหรือความคิดของนักศึกษานะคะ ควรจะคิดได้หลากหลายและใกล้ตัวมากกว่านี้
    4. การเขียนบล็อกต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง ทั้งภาษาและเนื้อหาค่ะ รวมทั้งต้องมีการออกแบบให้น่าอ่านกว่านี้ด้วย ไม่ใช่ใช้สีและรูปแบบเดียว
    5. บทความต่อไปให้เขียนเรื่อง "นักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิตัล" ส่งภายในสิ้นเดือนกันยายนนะคะ

    ตอบลบ