วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ละครโทรทัศน์เรื่อง บ้านทรายทอง 




บ้านทรายทอง เป็นนวนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของวงการวรรณกรรมไทย เขียนโดย ก.สุรางคนางค์ (กัณหา เคียงศิริ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2529) นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียง ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารรายปักษ์ชื่อ "ปิยมิตร" ประมาณปี พ.ศ. 2493 เคยเป็น ละครโทรทัศน์และ ภาพยนตร์ ได้รับความนิยมสูงตลอดมา
สวลี ผกาพันธุ์ มีชื่อเสียงจากบทสาวน้อยถักผมเปีย พจมาน สว่างวงศ์ คนแรกในวงการแสดง จากละครเวทีของคณะอัศวินการละคร ของ เสด็จพระองค์ชายใหญ่ (ภาณุพันธุ์) ที่ ศาลาเฉลิมไทย พ.ศ. 2494 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัจจุบันบริษัทบีเคพีนำภาพยนตร์เวอร์ชันจารุณี สุขสวัสดิ์, พอเจตน์ แก่นเพชร ที่เคยฉายเมื่อ พ.ศ. 2523 ซึ่งทำรายได้ประมาณ 20 ล้านบาท มารีมาสเตอร์ใหม่ภายใต้โปรเจกต์ The Legend Collection

เนื้อเรื่อง

เนื่อเรื่องเดิมจบที่พจมานแต่งงานกับชายกลาง ต่อมาผู้ประพันธ์ ได้แต่งเพิ่มภาคต่อหลังการแสดงละครเวที ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง และได้นำมาแสดงทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ต่อมาจึงรวมทั้งสองภาคเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวถึง "พจมาน พินิจนันต์" ก้าวเข้ามาอยู่ในบ้านทรายทอง ตามคำสั่งเสียสุดท้ายของพ่อเพื่อเรียนต่อในกรุงเทพฯ เธอถูกกลั่นแกล้งสารพัดโดย หม่อมแม่และหญิงเล็ก ด้วยกลัวว่าพจมานจะพรากบ้านหลังนี้ไปครอง แต่ในที่สุขเธอก็สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายได้สำเร็จด้วยการช่วยเหลือจาก หญิงใหญ่ และชายกลาง รวมทั้ง ชายเล็ก ผู้พิการที่รักเธอเหมือนพี่สาว

ผลงานละครเวที

พ.ศ. 2494 - ละครเวที ศาลาเฉลิมไทย อำนวยการสร้างโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, กำจาย รัตนดิลก, กัณฑรีย์ นาคประภา
พ.ศ. 2495 - ละครเวที นำแสดงโดย พจนีย์ โปร่งมณี, สมควร กระจ่างศาสตร์
พ.ศ. 2542-2543 - ละครเวที โรงละครกรุงเทพ, ​โรงละครกาด​เธีย​เตอร์ เชียง​ใหม่, ศูนย์ประชุมกาญจนาภิ​เษก ขอนแก่น ใช้ชื่อว่า "อลหม่านหลังบ้านทรายทอง" นำแสดงโดย จารุณี สุขสวัสดิ์ (ไม่ได้เป็นพจมาน), อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ, พรชิตา ณ สงขลา, นาเดีย นิมิตรวานิช
พ.ศ. 2548 - ละครเวที Bangkok theatre อีจีวี ​เม​โทร​โปลิส ​เวิลด์​เทรด​ เซ็น​เตอร์ ใช้ชื่อว่า "อลหม่านหลังบ้านทรายทอง" นำ​แสดง​โดย เข็มอัปสร สิริสุขะ, นาเดีย นิมิตรวานิช (พจมานสองคน), เซกิ โอเซกิ


ละครและภาพยนตร์

พ.ศ. 2499 - ภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม. โดย เสรีภาพยนตร์ นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล, เรวดี ศิริวิไล, ลือชัย นฤนาท, สมพงษ์ พงษ์มิตร
พ.ศ. 2501 - ละครโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธ์, ฉลอง สิมะเสถียร, กัณฑรีย์ น. สิมะเสถียร
พ.ศ. 2513 - ละครโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม นำแสดงโดย อรัญญา นามวงศ์, ฉลอง สิมะเสถียร, กัณฑรีย์ น. สิมะเสถียร
พ.ศ. 2521 - ละครโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นำแสดงโดย ศันสนีย์ สมานวรวงศ์, สมภพ เบญจาธิกุล, บุศรา นฤมิตร, สุทธิจิตร วีระเดชกำแหง
พ.ศ. 2523 - ภาพยนตร์ฟิล์ม 35 มม. โดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ผู้กำกับ รุจน์ รณภพ นำแสดงโดย จารุณี สุขสวัสดิ์, พอเจตน์ แก่นเพชร, ทาริกา ธิดาทิตย์, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, สุพรรณี จิตต์เที่ยง
พ.ศ. 2530 - ละครโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 นำแสดงโดย มนฤดี ยมาภัย, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง, ดวงตา ตุงคมณี, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, ทาริกา ธิดาทิตย์, ปรัชญา อัครพล, ธำรง วิจิตสาร, สุรีย์พร เกียรตินาค
พ.ศ. 2543 - ละครโทรทัศน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย รินลณี ศรีเพ็ญ, ศรราม เทพพิทักษ์, จินตหรา สุขพัฒน์, ญาณี จงวิสุทธิ์, สกาวใจ พูนสวัสดิ์
พ.ศ. 2557 - ละครโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กำลังวางตัวนักแสดง

รีเมคละคร

1.ละครเรื่องนี้ผู้ชมเรียกร้องว่าอยากให้กลับมาทำใหม่เพราะรู้สึกประทับใจ

2.นิยายสมัยนี้ดีๆหายาก เพราะมักมีเนื้อหาสมัยใหม่เกินไปไม่เหมาะในการทำละคร

3.นิยายสมัยใหม่ มักไม่มีฉาก หรือบทยอดนิยมของคนไทย

4.คนไทยยังติดกับภาพลักษณ์เดิมๆของละครอยู่

5.ละครบางเรื่องคนรุ่นใหม่เกิดไม่ทันดู เช่น วนิดา คู่กรรม

6.รีเมคยังไงก็มีคนดู เพราะช่องที่ทำละครดึกมีแค่ไม่กี่ช่องเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

นักนิเทศศาสตร์ ยุคดิจิตอล


นักนิเทศศาสตร์ ยุคดิจิตอล


นิเทศศาสตร์ จะเป็นคำที่มีความหมาย ครอบคลุมในสาขาอาชีพทางการสื่อสารได้กว้างขวาง "นิเทศศาสตร์" หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Communication Arts" นั้นเป็นคำพูดที่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงคิดขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2511 โดยทรงใช้ความหมายว่า "เป็นวิชาที่สื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม" ไม่จำเพาะแต่ทางหนังสือพิมพ์ เช่น การสื่อสารทางละครก็เข้าอยู่ในนิเทศศาสตร์การสื่อสารมวลชนทางอื่น นอกจากหนังสือพิมพ์ เช่น วิทยุโทรทัศน์ก็เป็นนิเทศศาสตร์ 

ชีวิตในปัจจุบันประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่ในบ้าน ล้วนใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้งานที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันในโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางก้าวหน้าเพื่อนำไปใช้ต่อ ในโลกแห่งอนาคต

มีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการสื่อสารอย่างแพร่หลาย และยังมีความสะดวกรวดเร็ว ทำให้เราสามรถรับรู้ข่าวสารต่างๆที่เราอยากรู้ได้รวดเร็วและในปัจจุบันยังมีการเพิ่มสัญญาณระบบ GPRS ระบบ 3G  ที่ทำให้เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันสามรถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ชีวิตความเป็นอยู่ของเราก็เช่นกันที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้นเพราะได้นำเทคโนโลยีระบบอัจฉริยะมาสร้างเป็น เครื่องอุปกรณ์ที่ทันสมัย ที่มีความนิยมในปัจจุบัน
                                                                                                                                                                                                                การใช้ชีวิตในยุคดิจิตอล ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลมาจากการใช้ IT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง จึงหวังว่าท่านหลายคนคงปรับตัวและสนุกสนานไปกับชีวิตในโลกดิจิตอลนี้                        





วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบ้านโยฮันส์



โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก


                          โยฮันน์ กูเทนแบร์ก (อังกฤษ: Johannes Gensfleisch zur Laden zum Gutenberg (ค.ศ. 1398 – 3 ก.พ. ค.ศ. 1468) ช่างเหล็กและนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันมีชื่อเสียงจากการมีส่วนพัฒนาเทคโนโลยี การพิมพ์ ในช่วงราวคริสต์ศตวรรษ 1450 ซึ่งรวมถึงตัวพิมพ์โลหะอัลลอย และหมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมันเป็นฐาน แม่พิมพ์สำหรับหล่อตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ และแท่นพิมพ์แบบกดแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาจากเครื่องกดที่ใช้ในการทำไวน์กูเตนเบิร์กชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ ตัวพิมพ์ที่ถอดได้ขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากการพิมพ์แบบบล็อกที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้นเมื่อรวมส่วน ประกอบต่างๆ ดังกล่าวเข้าด้วยกันในระบบการผลิตแล้วเขาได้ทำให้การพิมพ์อย่างรวดเร็วเป็น ไปได้ และทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของ ยุโรป จึงทำให้เราทุกวันนี้ สามารถรับและสืบทอดตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ได้อย่างเอนกอนันต์ เพราะหากไม่มีเทคโนโลยีด้านการพิมพ์นี้แล้วและให้เราคัดลอกความรู้ต่างๆ กันด้วยมือมนุษย์เองนั้นก็ยากที่จะทำให้ความรู้วิทยาการแขนงต่างๆ แพร่หลายอย่างกว้างไกลเฉกเช่นปัจจุบันนี้ โดยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ว่านั้นต้องยกเครดิตให้กับนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันผู้ หนึ่ง นั่นคือ โยฮันส์ กูเตนเบิร์กถึงแม้ว่าก่อนหน้านั้นราว 400 ปี จีนแผ่นดินใหญ่สามารถประดิษฐ์การพิมพ์ได้แล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะมุ่งรับใช้ราชสำนักเป็นสำคัญไม่เหมือน กับกูเตนเบิร์ก ที่ทำให้การพิมพ์หนังสือแพร่หลายไปทั่วทุกหัวระแหง โดยนักประดิษฐ์ แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่ผู้นี้ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 1941 ที่เมืองเมนซ์ ดินแดนเยอรมนี ได้ประดิษฐ์คิดค้นแท่นพิมพ์ดังกล่าวขึ้นมา เริ่มจากปี พ.ศ. 1982 ก่อน ที่จะพัฒนามาโดยลำดับ และได้พิมพ์เอกสารต่างๆ มากมายจนถือว่าได้เป็นงานหลักใน ชีวิตของเขาแต่ที่นับว่ายิ่งใหญ่ เพราะรู้จักแพร่หลายกันอย่างที่สุด ก็คือ การพิมพ์ คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กูเตนเบิร์ก ไบเบิลที่พิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 1998 หรือวันนี้เมื่อ 554 ปีที่แล้ว...
 ผลกระทบต่อสังคมในปัจจุบัน
                            เมื่อ เกิดการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบเรียงตัวอักษร ทำให้เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงต่อด้านสังคม ดังนี้ การลดบทบาทความสำคัญของบาทหลวง และคริสต์จักร แต่เดิมพระหรือบาทหลวงเป็นผู้ผูกขาดการรู้หนังสือ ดังนั้น เมื่อมีสิ่งประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กทำให้งานเขียนประเภทต่าง ๆ แพร่หลายอย่างรวดเร็วผู้คนฉลาดมากขึ้นไม่ยอมให้ถูกครอบงำหรือชี้นำทางความ คิดจากบาทหลวงหรือคริสตจักรเหมือนดังแต่ก่อน

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตน้องใหม่


                       จากที่เรียน จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว แต่ละคนก็ต้องแยกย้ายกันไปเรียนต่อแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยที่ตัวเองอยากไปศึกษาแต่ละคนก็ต้องจากไกลจากต่างแดนต่างถิ่นของ     ตัวเองที่อยากไปศึกษาต่อ และแน่นอนที่จะต้องพบปะกับเพื่อนต่างถิ่น อยู่ในรั้วของมหาวิทยาลัย มันก็จะแตกต่างจากโรงเรียนบ้าง แต่ยังไงๆก็คงต้องเดินต่อไป

 
                           ตัวของดีฉันเองตอนแรกไม่เคยคิดเลยว่าจะมาเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายเพราะมันไกลจากบ้านมากและพ่อแม่ก็ไม่อยากให้มา แต่พออธิบายให้ท่านก็ไม่ว่าอะไร ก่อนที่ดิฉันตัดสินใจมาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ดิฉันได้ลงเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย แต่พอคิดไปคิดมาคณะนี้สาขานี้มันยิ่ง จะทำให้ฉันเครียดไปใหญ่เลย เพราะดิฉันรู้ว่าว่าการเรียนวิทย์มันยากมากพอสมควรจากประสบการณ์ที่จบสายวิทย์มาจากเดิม ดิฉันเลยเปลี่ยนเป็นเรียนนิเทศศาสตร์ สาขาการสื่อสารสื่อใหม่และมัลติมีเดีย จากที่รู้ๆกันอยู่ว่าทำไมชื่อของดิฉันอยู่เป็นคนสุดท้ายของห้องนิเทศาสตร์ สื่อใหม่ เพราะว่าดิฉันมาเปลี่ยนคณะตอนจ่ายค่าเทอม ดิฉันเป็นเด็กซิ่วค่ะ ซิ่วมาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธาสาเหตุที่ซิ่วคือคณะนี้เป็นคณะที่ ดิฉันกดดันมาก อย่างแรกเป็นผู้หญิงคนเดียวในห้อง สองรับน้องโหดแต่ก็ผ่านการรับน้องแล้ว สามค่าเทอมแพง คือทางบ้านค่อนข้างยากจน พ่อแม่หาเช้ากินค่ำ เหตุผลที่ซิ่วก็ มีแค่นี้ค่ะ การรับน้องที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยเฉพาะคณะนิเทศศาสตร์ เป็นการรับน้องที่สนุกสนานมาก แต่มันก็ดีไปอีกแบบ เพราะทำให้ดิฉันได้เจอเพื่อนหลายคน ที่เข้ามาเรียนคณะนี้หรอเพื่อนต่างคณะได้รู้ว่านิสัยแต่ละคนเป็นยังไง เพื่อนๆพี่ๆสื่อใหม่น่ารักทุกคนค่ะ ดิฉันคิดไม่ผิดเลยที่ดิฉันมาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ แม้มันจะไกลจากบ้าน แต่มันก็ทำให้ดิฉันรู้ว่าแท้เป็นยังไง และได้รู้ถึงรุ่นพี่แต่ละคนที่ทำให้พวกน้องๆมีความสุขสนุกสนาน ดิฉันรู้ค่ะว่าพี่ๆเค้ามีความตั้งใจมาก เพื่อให้พวกดิฉันมีความรัก มีความกล้าแสดงออก มีความสนุกสนานต่อกัน
















     ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนคณะอะไร มันก็ยากไปด้วยกันหมด เฉพาะนั้นก็ควรจะตั้งใจเรียน และพายายามไม่ขาดเรียนถ้าไม่จำเป็น เพราะการขาดเรียนไม่เข้าเรียนมันอาจส่งผลก่อให้เราไม่ถึงจุดมุ่งหมายที่เราฝันไว้